น้ำพุดนตรี (Musical fountain)
1.ทำความเข้าใจกับน้ำพุดนตรี
หากจะว่ากันไปแล้วน้ำพุมีอยู่ 2 ประเภท คือ น้ำพุธรรมชาติ และน้ำพุประดิษฐ์ ส่วนที่เรากำลังจะพูดถึงอยู่นี้ก็คือ น้ำพุประดิษฐ์ สร้างขึ้นด้วยน้ำมือมนุษย์ มีองค์ประกอบสำคัญคือ ภาชนะ เช่น อ่าง หรือสระ เพื่อกักเก็บน้ำ ปั๊มน้ำ เพื่อดูดน้ำส่งผ่านหัวน้ำพุ
น้ำพุดนตรีเป็นการรวมเอาลักษณะท่าทางของการเคลื่อนที่ ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นพืชซึ่งได้แก่ต้นไม้ ดอกไม้ นานาชนิดหรือสัตว์ต่างๆ เช่น ผีเสื้อ นกกระเรียน หงส์ เป็นต้น ด้วยลีลาของเส้นน้ำทีมีขนาด และรูปร่างต่างๆ กัน โดยกำหนดให้ สายน้ำเหล่านั้น เคลื่อนที่ ล้อเลียนธรรมชาติ ด้วยวิธี ทำให้ เส้นน้ำ ขึ้นลงเป็นจังหวะ หมุนรอบตัวในแนวตั้งฉาก หรือ แนวนอน ส่ายไปมาตามกัน หรือสลับกัน โยกไปมา น้ำพุดนตรีดังกล่าวออกแบบได้ตั้งแต่ขนาดเล็กเพียง 4 เมตร จนถึงขนาดใหญ่มากกว่า 100 เมตร ติดตั้งได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร
น้ำพุดนตรีในประเทศไทย (Musical fountain in Thailand) นับตั้งแต่น้ำพุดนตรียังไม่เป็นที่รู้จักในประเทศไทย ในปี พศ. 2536ได้เริ่มต้นออกแบบและติดตั้งน้ำพุดนตรีเป็นแห่งแรก ณ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ มีขนาดกว้าง 70 เมตร ซึ่งถือได้ว่าใหญ่ที่สุดในประเทศในขณะนั้น ปัจจุบันมีผลงานการออกแบบจัดสร้างน้ำพุและสิ่งแสดงที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบจัดแสดงทั้งแบบชั่วคราวและถาวรมาแล้วมากกว่า 60 แห่ง ซึ่งออกแบบ ติดตั้งและซ่อมบำรุงระบบน้ำพุทุกประเภท ทั้งน้ำพุกลางแจ้งและน้ำพุในอาคาร ตั้งแต่ระบบขนาดเล็กจนถึงระบบขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนมาก พร้อมไฟส่องสว่างและระบบเสียง ที่ควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์พร้อมเทคนิคพิเศษต่างๆ มากมาย
น้ำพุรูปแบบต่างๆ นอกจากจะสามารถติดตั้งในแบบถาวรแล้วยังสามารถ Designให้มีรูปแบบเหมาะสมกับงานแบบชั่วคราวได้ด้วย เช่น ในงานเลี้ยงรื่นเริง งานแต่งงาน งานวันเกิด งานแถลงข่าว งานออกร้าน งานประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการขายต่างๆ เป็นต้น สร้างความแปลกใหม่ด้วยเทคนิคพิเศษและดึงดูดความสนใจแก่ผู้ที่พบเห็นไปพร้อมๆ กัน
2. แนวคิดในการนำน้ำพุดนตรีมาประยุกต์ใช้กับงานภูมิทัศน์
งานทำน้ำพุดนตรีนั้นมีรูปลักษณ์และลวดลายหลากหลายแบบ สามารถผสมผสานหลายๆแบบเข้าด้วยกันเพื่อให้ดูสวยงามและมีระบบควบคุมที่สามารถทำขึ้นเองได้ง่ายในราคาที่ไม่แพงมากนักเมื่อต้นทุนถูกการทำน้ำพุดนตรีประกอบภูมิทัศน์จึงไม่ใช้เรื่องยาก หากเพียงแต่ต้องมีการนำมาปรุงแต่งเสริมนิดออกหน่อยเพื่อให้สอดคล้องกับงานภูมิทัศน์นั้น นอกจากจะทำให้เกิดความแปลกใหม่แล้วยังทำให้การพัฒนางานภูมิทัศน์มีความหลากหลายมากขึ้นในอนาคต
เมื่อความหลากหลายในงานภูมิทัศน์มีมากขึ้นน้ำพุดนตรีก็จะไม่ใช่แค่การนำน้ำพุมาตกแต่งประดับอาคาร สวนสาธารณะ สถานที่ต่างๆเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ความสามารถในการนำน้ำพุดนตรีมาประยุกต์ใช้กับงานภูมิทัศน์จึงไม่ใช้เรื่องที่แปลกใหม่อีกต่อไปแต่จะเปลี่ยนเป็นการเพิ่มมูลค่าของงานให้มากขึ้น ทั้งในด้านของความงาม ทัศนียภาพ ความจรรโลงใจ ยังรวมไปถึงความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบงาน ที่จะสามารถพัฒนางานให้ไปสู่ระดับนานาชาติได้ต่อไป
2.1 น้ำพุดนตรีงานภูมิทัศน์
น้ำพุดนตรีนอกจากจะสร้างความตื่นตาตื่นใจเมื่อพบเห็นแล้วยังส่งเสริมพื้นที่นั้นให้สวยงามขึ้น กลายเป็นองค์ประกอบหลักในการออกแบบงานภูมิทัศน์ เพราะตัวน้ำพุที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลาทำให้เกิดความรู้สึก มีชีวิตชีวา เพลิดเพลินใจ ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกเบื่อ อีกทั้งยังช่วยผ่อนคลายความเมื่อยล้าต่างๆได้อีก ยังจะสังเกตได้จาก การนำน้ำพุดนตรีมาใช้ในงานรื่นเริงกลางแจ้งต่างๆ งานราชพฤกษ์ 2549 ที่มีการนำน้ำพุดนตรีมาแสดงในทุกๆคืนตลอด3เดือนจนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่ผู้มาเยือนต้องอยู่ชมเสมอ หรือน้ำพุตามแนวคูเมือง จังหวัดเชียงใหม่ที่จะเปิดน้ำพุที่ ที่มีการจราจรแอดอัดเพื่อช่วยให้ผู้ที่สัญจรไปมาไม่หงุดหงิดจากการจารจรให้กับมารู้สึกผ่อนคลายได้ด้วยน้ำพุนั้นเอง
2.2 น้ำพุดนตรีงานสถาปัตยกรรม
น้ำพุนอกจากจะทำให้เกิดความรู้สึกอ่อนโยง การเคลื่อนไหวความเป็นอิสระ ความไม่อยู่กับที่ได้แล้วนั้น ในทางกับกันน้ำพุยังทำให้เกิดความรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่ มั่นคง ความ มโหฬาร อลังการ จึงไม่แปลกนักที่จะพบเห็นการนำน้ำพุดนตรีมาประดับ สถาปัตยกรรม อาคารขนาดใหญ่ต่างๆ แต่การนำน้ำพุดนตรีมาใช้กับงานทางสถาปัตยกรรมนั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของตัวสถาปัตยกรรมนั้นๆด้วย เพื่อจะได้เป็นการส่งเสริมซึ่งกันและกันระหว่างตัวสถาปัตยกรรมกับน้ำพุดนตรี หากไม่ระมัดระวังในจุดนี้ งานที่สร้างสรรค์เพื่อความงามอาจกลายเป็นทัศนะอุจารได้ในพริบตา
3. องค์ประกอบของน้ำพุดนตรี
การทำน้ำพุดนตรีจำเป็นที่จะต้องมี สระน้ำ, บั๊ม, หัวน้ำพุ, ระบบไฟ, ระบบเสียง, การควบคุม
สระน้ำ จะมีขนาดใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับความต้องการ แต่มันมีบางที่ในสระที่การควบคุมไปถึงได้ ถ้าสระมีรูปร่างเป็นแนวโค้ง สามารถวางแผนการควบคุมลงในสระได้เลยหรือวางไว้บริเวณข้างๆน้ำพุ
ปั๊ม การวางปั๊มหนึ่งต่อหัวน้ำพุหนึ่งหัวเป็นวิธีที่ง่ายและประหยัดมาก สำหรับงานน้ำพุดนตรีนิยมใช้ปั๊มเดี่ยว(240v ac) สามารถรวมท่อเข้าไว้ด้วยกันได้มามันจะทำให้เกิดฟองหมุนรอบตัว แต่มีข้อแม้ว่าปั๊มจะทำต่อหัวน้ำพุหัวที่อยู่ใกล้ปั๊มจึงต้อง พิจารณาถึงข้อนี้ด้วย
ระบบไฟ มีวิธีมากมายที่วางไฟสำหรับน้ำพุไว้ในน้ำที่มีระดับต่ำ มีการเผยแพร่วิธีการมากมายที่จะสามารถนำมาใช้ได้ เช่นการนำไฟสีหนึ่งแสงไว้ใกล้ๆหัวน้ำพุหนึ่งหัว มันจะปรากฎแสงที่หัวน้ำพุนั้น5-6แสง
ระบบเสียง มีการติดตั้งลำโพงเล็กๆไว้รอบๆข้างขอบสระ
การควบคุม ใช้โปรมแกรม ACCESS DMX dimmers ผ่าน interfaceสามารถวางระบบได้โดยสร้างช่องวางที่ขอบสระหรือ สร้างห้องควบคุมสามารถเปลื่ยนลำดับเวลาการปิด/เปิดน้ำพุได้ โดยไม่ต้องไปอยู่ใกล้ๆน้ำพุมันจะทำการปิด/เปิดเอง
3.1การเลือกใช้หัวน้ำพุ
การเลือกใช้หัวน้ำพุชนิดใดนั้นต้องพิจารณาจาก บ่อ สระ หรือภาชนะ ให้มีความสัมพันธ์กันคือ
ขนาดของบ่อ หรือสระ หรือภาชนะต้องพอเหมาะพอดีกับสระน้ำที่พุ่งออกมาจากหัวน้ำพุ
สิ่งที่ทำให้น้ำพุมีความแตกต่างกันในด้านความสวยงาม แปลกตาน่าสนใจ นั่นคือ หัวน้ำพุ ซึ่งอาจพุ่งขึ้นเป็นลำ หรือเป็นฝอย หัวน้ำพุมีการพัฒนารูปแบบให้งดงาม อาจพุ่งออกจากจุดศูนย์กลาง เป็นช่อเป็นชั้นลดหลั่นกัน หรือพุ่งจากรอบบ่อเข้ามาจุดศูนย์กลาง
3.2 รูปแบบหัวน้ำพุที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
Three Tier Smooth Bore
Crown(adjustable fall) Pirouette (spins slowly, 1" shown )
Cascade (Level dependent) Cluster (shown w/fans)
Fan Vertical Fan
Dome / Bell Finger Nozzle
4. ระบบติดตั้งและควบคุมน้ำพุดนตรี
4.1 การติดตั้งหัวน้ำพุและหลอดไฟสี
แนวความคิดในการติดตั้งหัวน้ำพุและหลอดไฟสีควรติดตั้งหลอดไฟสี สีละหนึ่ง
หัวน้ำพุรูปแบบต่างๆตามต้องการ
หลอดไฟสีติดตั้งระหว่างหัวน้ำพุ
บั๊มสูบน้ำหลอดบริเวณช่วงว่างระหว่างหัวน้ำพุสองหัว หลอดไฟจะสามารถส่องแสงได้ถึงสองหัวน้ำพุเมื่อเข้าระบบคอมพิวเตอร์แล้วทั้งหมดจะทำงานพร้อมกันและควรติดตั้งบั๊มระหว่างช่องว่างหลอดไฟสี เหตุที่ต้องทำเช่นนี้ก็เพื่อว่า เมื่อสูบน้ำเข้าหัวน้ำพุน้ำจะวิ่งไปตามลำดับจากซ้าย-ขวา, หน้า-หลังเป็นต้น วิธีนี้จะช่วยได้ดีมากในการแสดงทั้งนี้แล้วยังช่วยลดการพุ่งของน้ำที่มากเกินไปให้พอดีกับแสงที่ส่องออกมาจากหลอดไฟแต่ละหลอดด้วย ทั้งนี้ยังได้ยกตัวอย่างภาพประกอบเพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น
4.2 คอมพิวเตอร์กับการควบคุมงานน้ำพุดนตรี
การควบคุมนอกจากจะมีโปรแกรมการควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีเครื่อง
อื่นๆที่ใช้ในการควบคุมองค์ประกอบต่างๆในการสร้างน้ำพุดนตรี โดยมีเครื่องมือดังนี้
Float switch ตัวหยุดบั๊มเมื่ออยู่ในระดับต่ำ, Wind controls ตัวกำหนดความสูงของน้ำพุ,Light sensor ตัวกำหนดการเปิดแสงไฟ, P.I.R. ตัวปล่อยน้ำพุ, Time switches สวิตซ์ตั้งเวลา, DMX ตัวควบคุมใหญ่, EFC series ตัวทำให้น้ำพุมีการเคลื่อนไหว, Access software โปรมแกรมควบคุมน้ำพุด้วยคอมพิวเตอร์, Domestic DMX kit, Electronic water level หยุดน้ำพุเมื่อน้ำแห้ง
ACCESS is a 4th เป็นโปรมแกรมวิวโดวส์พื้นฐานที่เขียนขึ้นเพื่อใช้ควบคุมน้ำพุ
ดนตรีโดยเฉพาะซอฟแวร์ตัวนี้สามารถควบคุมได้ง่าย ด้วยอุปกรณ์สวิตซ์ปิด-เปิด/ Dimmers และบั๊ม 1/2เพียงไม่กี่ตัว ใช้ควบคู่ไปกับตารางเวลาที่มีการอัดไว้ล่วงหน้าในแต่ละวัน มีการส่งผ่านข้อมูลทั้งไปที่หน่วยควบคุมอิเลคโทรนิคผ่านคอมพิวเตอร์ไปยังหัวน้ำพุร้อยกว่าหัวจากที่ต่างๆ
ACCESS ถูกพัฒนาขึ้นมามากว่ายี่สิบปี ด้วยประสบการณ์การทำน้ำพุ, ระบบควบคุม,
การติดตั้งอุปกรณ์และฝึกใช้คอมพิวเตอร์ขอบเขตความเชื่อมั่นในการทำงานให้ทั้งพลัง, ความเร็วและเข้ากันได้ สะดวกในการใช้งานและการบำรุงในการเปิดกลไกน้ำพุ ทั้งนี้ซอฟแวร์ได้จัดเตรียมคูมือการควบคุมแบบอัตโนมัตสวิตช์หรือการควบคุมส่วนต่างๆการปรับปรุงทั้งระบบไฟและเครื่องควบคุมการไหลของน้ำพร้อมทั้งคำแนะนำในการทำน้ำพุ
4.3 ขั้นตอนการทำน้ำพุดนตรี
ขั้นตอนในการทำน้ำพุดนตรีมีอยู่ด้วยกับ 3 ขั้นตอนหลักๆที่สำคัญดังนี้
ขั้นตอนที่1 การออกแบบและการวางแผน ก่อนจะสร้างงาน จำเป็นต้องทำการสำรวจพื้นที่ เสียก่อนเพื่อเก็บข้อมูลที่สำคัญในการนำเป็นใช้เป็นฐานแนวความคิดในการออกโดยเฉพาะด้านมุมมองถือว่ามีความสำคัญอย่างมากสำหรับการออกแบบ เพื่อให้สามารถมองเห็นน้ำพุได้ทุกสัดส่วน และทุกพื้นที่การมองเห็น และที่สำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับการออกแบบคือแนวคิดของเจ้าของงานที่จะสามารถออกแบบน้ำพุดนตรีให้สอดคล้องต่อความต้องการ
การออกแบบนี้นอกจากจะออกแบบรูปแบบ ลีลาของน้ำพุแล้วยังรวมไปถึงการออกแบบงานก่อสร้างการวางระบบลงในสระน้ำหรือการสร้างสระน้ำขึ้นมาใหม่ การวางระบบทั้งระบบท่อน้ำ, หัวน้ำพุ, ระบบแสงไฟ, ระบบเสียง, และการกำหนดวางอุปกรณ์ในการควบคุม โดยการนำเสนอแบบให้ลูกค้าอาจทำได้ทั้งการเขียนด้วยมือหรือทำเป็น 3D ให้เห็นภาพรวมทั้งหมดก็ได้
ขั้นตอนที่ 2 การวางระบบทั้งหมดลงใน site เป็นการติดตั้งระบบทั้งหมดลงในสระน้ำ ได้แก่ระบบท่อน้ำ-ปั๊ม, ระบบหัวน้ำพุ(ติดตั้งตามแบบที่กำหนด), ระบบแสงไฟ, ระบบเสียง(ลำโพงรอบๆสระ), ระบบควบคุม, และอุปกรณ์สำหรับต่อเข้าระบบควบคุม การควบคุมนั้นควรติดตั้งให้อยู่ใกล้ๆบริเวณขอบสระน้ำเพื่อการส่งสัญญาณในการควบคุมระบบต่างๆทั้งหมด
ขั้นตอนที่3 ระบบควบคุม เมื่อทำการติดตั้งระบบทั้งหมดเรียบร้อยแล้วต่อไปจะเป็นส่วนของงานควบคุมที่ควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์พร้อมเทคนิคพิเศษต่างๆ มากมาย
เพื่อกำหนดเปิด-ปิด ให้น้ำพุเกิดการเคลื่อนไหวไปตามเสียงเพลงที่ตั้งไว้และมีลีลาที่สวยงามตามโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้แต่แรก โดยการควบคุมนี้อาจมีการสร้างห้องสำหรับการควบคุมโดยเฉพาะ บริเวณใกล้ๆกับสระน้ำเพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการควบคุม
5. ตัวอย่างน้ำพุดนตรีที่มีในปัจจุบัน
5.1 นี่คือน้ำพุดนตรีที่ Mount Vernon New York จากรูปสามารถเห็นการติดตั้งทั้งระบบไฟ ปั๊มน้ำ และหัวน้ำพุ โดยหัวหนึ่งพุอันหนึ่งจะมีปั๊มหนึ่งอัน ยกเว้นตรงที่เป็นท่อวงแหวนจะมีปั๊มเล็กๆหลายตัว โดยปั๊มเล็กๆเหล่านี้จะสูบน้ำได้เร็วและสามารถส่งผ่านน้ำมายังหัวน้ำพุได้แรงและเร็ว
5.2 นี่คือน้ำพุดนตรี Donahue Memorial - Shrewsbury MA
- มีหัวน้ำพุทั้งหมด 11 ตัว อยู่ บนทุ้นตัวเดียวกับ
- ไฟ 15, 360 วัตต์ สีแดง, สีน้ำเงิน, และสีเหลืองอำพัน
- สเตอริโอ 480 วัตต์ รอบๆสระน้ำ 8 ตัว
- การแสดงแสง, สี, เสียง นาน42นาทีต่อหนึ่งรอบ
สรุป
จากการนำเสนอที่ผ่านมานั้น น้ำพุดนตรีประกอบไปด้วย สระน้ำ/บ่อ, ปั๊ม, หัวน้ำพุ, ระบบไฟ, ระบบเสียง, และระบบควบคุม เป็นองค์ประกอบหลักที่จะขาดไม่ได้ในการทำน้ำพุดนตรี น้ำพุดนตรีจะมีความคล้ายกันกับน้ำพุทั่วๆไป แต่จะต่างกันที่ เทคนิคการนำเสนอน้ำพุให้มีความแปลกใหม่ไปจากเดิมมีการใช้ระบบไฟ แสง, สี, และเสียงเข้ามาใช้ในการแสดงตามงานต่างๆ ระบบควบคุมเป็นหัวใจหลักที่ทำให้น้ำพุดนตรีเคลื่อนไหวได้ตามที่ใจปรารถนาโดยผ่านการควบคุมจากคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรม ACCESS is a 4th ที่สร้างสรรค์มาเพื่อใช้ในงานควบคุมน้ำพุดนตรีโดยตรง
ข้อเสนอแนะ
งานน้ำพุดนตรีส่วนใหญ่จะเป็นงานที่ใช้เนื้อที่/ สระน้ำขนาดใหญ่ในการสร้าง ระบบการออกแบบ ผังหัวน้ำพุจึงมีขนาดใหญ่ เมื่อมีขนาดใหญ่ค่าใช้จ่ายในการสร้างก็มีมูลค่ามากขึ้นตามไปด้วย แต่จริงๆแล้วจากการที่ได้ศึกษามาตั้งแต่ต้นแล้วนั้น งานออกแบบน้ำพุดนตรีสามารถออกแบบได้ตั้งแต่งายขนาดเล็กเพียง 4 เมตร จนถึงงานขนาดใหญ่มากกว่า 100 เมตร และสามารถติดตั้งได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร ดังนั้นงบประมาณสำหรับการติดตั้งน้ำพุ จึงขึ้นอยู่กับขนาดและชนิดของหัวน้ำพุมากกว่า มีตั้งแต่ราคาหลักหมื่นไปจนถึงหลักเป็นสิบๆล้าน ในปัจจุบันเนื่องจากความหลากหลายในงานน้ำพุดนตรีจึงไม่ใช้เรื่องยากมากนักสำหรับผู้ที่หลงใหลในน้ำพุดนตรีแต่มีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณที่จะติดตั้งน้ำพุดนตรีไว้ที่บ้าน
การพัฒนาเพื่อให้น้ำพุดนตรีมีต้นทุนต่ำลง
เพื่อให้มีราคาที่ถูกลงในงานสร้างน้ำพุดนตรี อาจพิจารณาจากวัสดุชนิดของหัวน้ำพุ, ไฟส่องใต้น้ำ, ที่มีการผลิตมาจากประเทศแถบเอเชียซึ่งจะมีราคาที่ถูกกว่าสั่งซื้อมาจากประเทศแถบยุโรป ส่วนปั๊มน้ำเลือกใช้ตามขนาดของหัวน้ำพุหรือตามความต้องการความแรงของน้ำที่พุ่งออกมาในปัจจุบันมีให้เลือกใช้หลากหลายรูปแบบและมีราคาที่ไม่แพงมากนัก ระบบควบคุมเป็นปัจจัยหลักสำคัญที่ต้องใช้ผู้ที่เชี่ยวชาญในการวางระบบแล้ว ยังทำให้น้ำพุดนตรีมีมูลค่าในการสร้างที่สูงด้วย เนื่องจากมีระบบที่ซับซ้อน ทั้งไฟส่องสว่างและระบบเสียง ที่ควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์พร้อมเทคนิคพิเศษต่างๆ มากมาย การพัฒนาระบบควบคุมให้มีควบซับซ้อนน้อยลงเพื่อลดต้นทุนในการสร้างงานน้ำพุดนตรีเป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่สามารถทำได้จริง หากลองศึกษาลึกเข้าไปถึงระบบการควบคุมแบบจริงๆจังๆแล้วบวกกับมีหัวทางการช่างอีกนิดหนึ่ง ก็อาจจะทำได้ด้วยการประดิษฐ์อุปกรณ์ควบคุมแบบง่ายหรือด้วยการดัดแปลง ระบบกลไกล ความซับซ้อนของอุปกรณ์ต่างๆให้ใช้ง่ายขึ้น ซึ่งหากทำได้จริงตามแนวคิดที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ก็จะทำให้งานน้ำพุดนตรีในอนาคตข้างหน้านี้เป็นที่ธุรกิจใหม่ที่สดใสและจะไปได้ไกลอย่างแน่นอน
วันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น